Accessibility Tools

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม
Office of Judicial and Legal Affairs

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม
image

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม

ข้อมูลประกอบการจัดการบรรยายเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็น Digital Court image

ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม (CIOS)

ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม (CIOS) เป็นระบบบริการข้อมูลคดี วันนัดพิจารณา ผลการส่งหมายและคำสั่ง ศาลผ่านอินเตอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคู่ความในคดีหรือประชาชน ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียกดูข้อมูลคดีที่คู่ความเกี่ยวข้องในคดีได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ สามารถใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม        https://cios.coj.go.th/   

                             https://cios.coj.intra/    (เฉพาะบุคคลากรศาล)

                             https://techno.coj.go.th/

 

ระบบทนายความขอแรง

จากการวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาระพีพัฒนศักดิ์พบว่า ทนายความขอแรงยังขาดความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และความชำนาญในการว่าความ อีกทั้งยังไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมเพียงพอ ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิในการต่อสู้คดีอาญาได้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้ สำนักงานศาลยุติธรรมจึงได้พัฒนาระบบทนายความขอแรงเพิ่มเติมขึ้นเป็นฟังค์ชั่นหนึ่งในระบบ CIOS เพื่อประโยชน์ในการขึ้นบัญชีทนายความขอแรง และจัดเก็บประวัติการทำคดีของทนายความขอแรง เพื่อใช้ในการตรวจสอบประสบการณ์และความชำนาญของทนายความ และเป็นหลักประกันว่าทนายความขอแรงที่ขึ้นบัญชีไว้กับสำนักงานศาลยุติธรรม จะเป็นทนายความที่มีประสิทธิภาพ

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม        https://cios.coj.go.th/

                             http://cios.coj.intra/   (เฉพาะบุคคลากรศาล)

                             https://jla.coj.go.th/th/content/category/detail/id/10/cid/21/iid/158073

 

ระบบการส่งเอกสารและการประกาศนัดไต่สวน ด้วยวิธีการลงโฆษณาทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-Notice System)

ระบบ e-Notice System เป็นระบบที่ศาลจะใช้ในการประกาศนัดไต่สวนคำร้องขอต่าง ๆ เช่น คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก คำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร แทนการประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือใช้ลงโฆษณาประกาศคำฟ้องและเอกสารทางคดีอื่น ๆ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งด้วยเจ้าพนักงานศาลหรือวิธีอื่นได้ โดยคู่ความ ทนายความ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถขอให้ศาลประกาศนัดไต่สวนคำร้องขอหรือลงโฆษณาเอกสารทางคดีต่าง ๆ ด้วยระบบ e-Notice System ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไปสามารถติดตามประกาศของศาล ผ่านทางเว็บไซต์ https://enotice.coj.go.th ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทำให้ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายในการประกาศทางหนังสือพิมพ์ อีกทั้งลดขั้นตอนระยะเวลาในกระบวนพิจารณาของศาล

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม        https://enotice.coj.go.th/

                             http://oja.coj.go.th/th/content/category/articles/id/8/cid/5961

 

ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing)

ระบบ e-Filing เป็นระบบสำหรับการยื่นคำฟ้อง ส่ง รับ คําคู่ความและเอกสาร ผ่านทางเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อให้ศาลและคู่ความสามารถส่งข้อมูลผ่านอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและช่องทางการบริการแก่คู่ความ สนับสนุนการพัฒนางานศาลและอํานวยความสะดวกให้แก่คู่ความ ช่วยให้คู่ความประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ในการที่ต้องเดินทางไปศาล

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม        https://efiling.coj.go.th/TH/

                            https://techno.coj.go.th/

 

การปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring: EM)

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารราความอาญา กำหนดให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของ ผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ปัญหาผู้ถูกดำเนินคดีซึ่งเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีในชั้นปล่อยชั่วคราว ปัญหาความยากจนไม่มีเงินประกันตัวทำให้คนยากจนถูกควบคุมตัวเกือบทุกกรณี และเสียโอกาสได้รับการปล่อยชั่วคราวทั้งปริมาณผู้ต้องขังหรือผู้ต้องโทษในเรือนจำมีปริมาณมากจนเกิดความแออัด เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าวสำนักงานศาลยุติธรรมจึงได้จัดให้มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมาใช้ในงานปล่อยชั่วคราว (Electronic Monitoring) หรือที่เรียกว่า อุปกรณ์ EM

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม        https://ojso.coj.go.th/

การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลสูงในลักษณะการประชุมทางจอภาพ

การดำเนินคดีอาญามีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนโดยเฉพาะจำเลยที่ต้องขังอยู่ในเรือนจำ ซึ่งบางคดีมีจำเลยหลายคนและต้องขังอยู่คนละเรือนจำ การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลสูงย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยเหล่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นหลักประกันการคุ้มครองสิทธิของจำเลยที่พึงจะได้รับในการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งสั่งของศาลสูงโดยเร็ว จึงได้นำเทคโนโลยีมาใช้การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลสูงในลักษณะการประชุมทางจอภาพ

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม        https://jla.coj.go.th/th/content/page/index/id/160067

                             https://jla.coj.go.th/th/content/page/index/id/160846

                             https://techno.coj.go.th/th/content/category/detail/id/5901/iid/174080